webtumwai.com=> ฝึกนั่งสมาธิ -> ฝึกกสินน้ำ ตามแนวทางของผม อัพเดตเรื่อยๆตามความคืบหน้า


ฝึกกสินน้ำ ตามแนวทางของผม อัพเดตเรื่อยๆตามความคืบหน้า

FaceBook Twitter
จำนวนผู้เข้าชม : 3202 คน

ฝึกกสินน้ำ ตามแนวทางของผม อัพเดตเรื่อยๆตามความคืบหน้า
ฝึกกสินน้ำ ตามแนวทางของผม อัพเดตเรื่อยๆตามความคืบหน้า




สั่งซื้อ คลิกที่นี่
กรอกข้อมูลทิ้งไว้ เดี๋ยวเราติดต่อกลับไปทาง LINE หรือ E-mail
ค้นหา

รายละเอียด

ฝึกกสินน้ำ ตามแนวทางของผม อัพเดตเรื่อยๆตามความคืบหน้า

ราคา : 0 .-

ประเภท : ฝึกนั่งสมาธิ





บันทึกวันที่ : 01/03/2561

หลังๆมานี้ผมก็ไม่ได้ฝึกสมาธิแบบอาณาปานสติ เนื่องด้วยผมมีเรื่องบางอย่างที่ผมอยากรู้และต้องการพิสูจน์ด้วยตนเอง ก็เลยตัดสินใจมาฝึกกสิน เพราะจากที่ศึกษามา ว่ากันว่าการฝึกกสินสามารถทำให้กำลังสมาธิของเราเพิ่มขึ้นได้

และเนื่องด้วยผมเคยมีพื้นฐานในด้านการฝึกสมาธิแบบอาณาปานสติมาบ้างแล้ว ก็คงนำความรู้ที่เคยมี มาต่อยอดได้เช่นเดียวกัน วันนี้ผมก็เลยมาอัพเดตแนวทางการฝึกของผมที่เผื่อว่าท่านใดสนใจฝึกกสินจะได้มาแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ซึ่งกันและกัน

กองของกสินที่ผมเลือกคือกสินน้ำ เพราะมีอาจารย์ท่านหนึ่งให้ความรู้และสอนวิธีเอาไว้ค่อนข้างละเอียด ผมก็เลยลองมาฝึกดู และความยากของกสินน้ำคือมันใสนี่แหละ แต่ก็ด้วยความใสนี่แหละที่ทำให้มันไม่ยากจนเกินไป  ทำให้เราจำภาพได้ง่าย สบายตา สบายใจ และจิตสงบดีเวลานั่งสมาธิ

ก่อนหน้านี้ผมเคยฝึกกสินดิน แต่ว่ามันยาก เพราะต้องจำรายละเอียดต่างๆของสีและเม็ดดินเล็กๆนี่แหละ พอมาฝึกกสินน้ำก็เลยรู้สึกว่าง่ายกว่ากันนะ

จะกสินกองใดๆ ปลายทางของการฝึกก็เหมือนกัน ดังนั้นให้ผู้ที่จะฝึกต้องเลือกกองให้ถูกกับจริตของตนเองเพื่อที่จะสามารถเข้าถึงสมาธิด้วยกสินและก้าวไปสู่ฌาน4 จนไปสู่ระดับการนำพลังงานกสินออกมาใช้งานได้ และนำกำลังที่ได้ไปเสริมในด้านวิปัสนาต่อไปในอนาคต

ครูบารอาจารย์ท่านกล่าวไว้ว่า การเลือกกสินกองแรกสำคัญมาก ถ้าเราเลือกได้ถูกต้องเราจะสามารถฝึกได้อย่างเข้าใจและต่อเนื่อง เมื่อฝึกกองแรกจนสำเร็จก็จะสามารถฝึกกสินกองอื่นๆได้ไม่ยาก

แนวทางการฝึกกสินน้ำของผม
----------------------------------------------------------------


:: บันทึก มีนาคม 2561

- หาถ้วยโฟมสีขาว ใส่น้ำใส

- วิธีจำภาพน้ำที่ผมทำอยู่มี 3 แบบ
1. นั่งมองถ้วยน้ำที่ตั้งอยู่ข้างหน้า ภาพที่ได้ก็จะเป็นภาพมุมสูงเฉียงนิดหน่อยตามที่เห็น (ผมนั่งกับพื้นและวางถ้วยโฟมบนพื้น)
2. ก้มไปมองน้ำใกล้ๆถ้วย จากมุมสูง (Top view เฉียงนิดๆก็ดีนะ)
3. ยืนถือถ้วยโฟมใส่น้ำไว้บริเวณลิ้นปี่ แล้วจำภาพน้ำ

- จำภาพน้ำที่นิ่งและใส (อาจลองเป่าเบาๆให้น้ำมีคลื่นเล็กน้อยก็ได้)

- เมื่อจำภาพน้ำได้แล้ว (น้ำนิ่ง , ใส เห็นก้นถ้วย , มีคลื่นเล็กน้อย )

- ขณะลืมตาอยู่นั้นให้ เอาตาเนื้อ มาโฟกัสที่ลิ้นปี่  

- มันจะเกิดความรู้สึกหน่วงๆที่ระหว่างคิ้วและที่ลิ้นปี่

- หลับตาแล้วกำหนดภาพน้ำที่เราจำได้

- โดยภาพจะต้องไม่ปรากฎในกลางหัวหรือปรากฎในกระโหลกศีรษะ

- ภาพน้ำที่เราเห็นเป็นแบบไหน ??

- เช่น ลองนึกหน้าคนที่คุณรักดูสิ  ภาพหน้าคนรักจะปรากฎ
(อันนี้คือการคิดนึก จะเห็นได้ว่า ภาพมันจะปรากฎอยู่กลางหัวหรือในกระโหลกศีรษะ )

- ดังนั้นให้กำหนดภาพน้ำใส มีคลื่นเล็กน้อย มองเห็นก้นถ้วย มาปรากฎที่บริเวณลิ้นปี่ เยื้องมาด้านหน้าได้เล็กน้อยพอประมาณ
(อันนี้คือกำหนดจิตให้สร้างภาพ เพื่อฝึกให้จิตมีกำลัง)

- ลักษณะภาพจะถูกผลักออกมา คล้ายกับว่าเราใช้จุดตรงระหว่างคิ้วมองภาพให้ปรากฎในอากาศบริเวณลิ้นปี่
(อาจมีรู้สึกหน่วงระหว่างคิ้วบ้างนิดหน่อย หรืออาจจะเบาบางจนไม่รู้สึกก็ได้ แต่ละคนอาจไม่เหมือนกัน)

- ภาพน้ำใส มีคลื่นเล็กน้อย มองเห็นก้นถ้วย ที่ปรากฎบริเวณลิ้นปี่ ถัดออกมาทางด้านหน้าเล็กน้อย อาจจะไม่ค่อยสว่างนัก , อาจจะไม่สมบูรณ์ , อาจไม่ดังใจต้องการ ให้เรามองว่าเป็นเรื่องธรรมดา

- การกำหนดภาพให้ปรากฎบริเวณลิ้นปิ่น อาจทำให้รู้สึุกหน่วงๆบริเวณลิ้นปี่บ้าง
(แรกๆอาจรู้สึกแปลกๆ แต่ฝึกไปเรื่อยๆเดี๋ยวก็ชินเอง)

- เมื่อเราเห็นภาพน้ำบริเวณตำแหน่งแถวๆลิ้นปี่แล้ว  ให้กำหนดวางภาพนั้นเสีย แล้วกำหนดสร้างใหม่ ห้ามกำหนดให้ภาพนั้นค้างอยู่นานๆ
(ครูบาอาจารย์ท่านบอกไว้ ก็เพื่อให้จิตได้สะสมกำลัง และมีกำลังสูงขึ้นเมื่อทำบ่อยๆ)

- ภาพอื่นๆที่แทรกเข้ามาระหว่างที่เรากำหนดจิต ที่ไม่ใช่ภาพ น้ำนิ่ง , ใส เห็นก้นถ้วย , มีคลื่นเล็กน้อย ให้รีบวางภาพนั้นทันทีแล้วกำหนดใหม่

** ให้เรานำถ้วยโฟมใส่น้ำไปตั้งไว้บริเวณที่เราอยู่เป็นประจำ เช่นห้องทำงาน , วางไว้บนโต๊ะบริเวณประตู เป็นต้น เวลาเราเดินผ่านเราจะได้ก้มดูน้ำบ่อยๆ เพื่อให้เราจำภาพน้ำได้ไวยิ่งขึ้น

===============
เสริมระหว่างฝึก ช่วงแรกๆ
===============


- หลับตาแล้วกำหนดภาพ น้ำนิ่ง , ใส เห็นก้นถ้วย , มีคลื่นเล็กน้อยที่เราจำได้

- รู้สึกว่าหลับตาทำยากจัง

- ลืมตา แล้วกำหนดภาพน้ำที่เราจำได้

- ให้ภาพน้ำที่ปรากฎ  กดอยู่ที่ลิ้นปี่

- วิธีนี้เห็นภาพน้ำชัดอยู่นะ แต่บางที่ตาเนื้อมันก็แย่งภาพนิมิตมาเป็นภาพที่ตาเนื้อเห็น

- กำหนดแล้วเห็นน้ำ 1  วิ ก็ถือว่า OK แล้ว

- หากกำหนดภาพน้ำไม่ได้ ก็ให้ไปดูน้ำในถ้วยโฟมใหม่

- เมื่อกำหนดเห็นน้ำแล้วก็ไม่ต้องไปรักษาภาพ ให้ทิ้งภาพนั้นไปแล้วกำหนดภาพน้ำใหม่

- ทำซ้ำไปซ้ำมาแบบนี้ จนจำภาพน้ำที่ใส นิ่ง มีคลื่นเล็กน้อย ให้ได้พอประมาณ

- ระหว่างวัน ช่วงเวลาที่เพื่อนคุยกัน เราก็ลองกำหนดภาพน้ำ (เอาที่พอกำหนดภาพได้บ้าง)

- ระหว่างวัน นั่งรถเฉยๆไม่มีอะไรทำ ก็กำหนดภาพน้ำ (เอาที่พอกำหนดภาพได้บ้าง)

- ระหว่างวัน ก่อนนอน ก็กำหนดภาพน้ำสัก 10 ครั้ง แล้วค่อยนอน (เอาที่พอกำหนดภาพได้บ้าง)

- ทุกวันหาเวลาว่าง ประมาณ 30 นาทีโดยประมาณ มานั่งฝึกกำหนดภาพน้ำ (เอาถ้วยโฟมใส่น้ำมานั่งฝึกจำภาพน้ำให้ติดตาติดใจ)

- ผมฝึกแบบนี้ซ้ำไปซ้ำมา ประมาณ 1-2 เดือน สามารถจำภาพน้ำได้โดยไม่ต้องไปมองน้ำในถ้วยอีก

- มาถึงตรงนี้เรียกว่า อุคหนิมิต


:: บันทึก เมษายน 2561
===============
เสริมระหว่างฝึก
===============


- ต่อไปฝึกกำหนดภาพน้ำแบบหลับตา

- ลักษณะภาพจะถูกผลักออกมา คล้ายกับว่าเราใช้จุดตรงระหว่างคิ้วมองภาพให้ปรากฎ

- ให้ภาพน้ำที่ปรากฎ  กดอยู่ที่ลิ้นปี่ (น้ำนิ่ง , ใส เห็นก้นถ้วย , มีคลื่นเล็กน้อย )

- ปัญหาคือไม่ชินกับการทำแบบหลับตา แต่พอทำไปเรื่อยๆก็ทำได้

- ปัญหาคือภาพนิมิตน้ำต่างๆ นอกเหนือจากที่เรากำหนดจะปรากฎ

* ภาพทะเลน้ำใส เห็นทรายได้ทะเล (กำหนดรู้ไปก่อน แล้วทิ้งภาพนี้ทันที)

* ภาพลำธารน้ำใส เห็นดินใต้น้ำ (กำหนดรู้ไปก่อน แล้วทิ้งภาพนี้ทันที)

* ภาพน้ำขุ่น (ให้ทิ้งภาพเลย)

* ภาพอื่นๆที่ไม่ใช่ น้ำนิ่ง , ใส เห็นก้นถ้วย , มีคลื่นเล็กน้อย (กำหนดรู้ไปก่อน แล้วทิ้งภาพนี้ทันที)

หมายเหตุ :: จริงๆแล้ว ภาพน้ำใสอื่นๆก็ใช้ได้แหละ แต่ผมอยากให้กำหนดภาพนิมิตตามถ้วยน้ำใส เพื่อให้จิตไม่ปรุงแต่งไปมาสับสน


- ภาพน้ำที่กำหนดโดยปกติแล้วนำมาใช้ต่อยอด

* ภาพน้ำใสในถ้วยโฟม เห็นขอบถ้วยโฟ (กำหนดรู้ไปก่อน วางภาพลงแล้วกำหนดใหม่)

* ภาพน้ำใสในถ้วยโฟม เห็นก้นถ้วยโฟม (กำหนดรู้ไปก่อน วางภาพลงแล้วกำหนดใหม่)

- เมื่อเริ่มชินกับการกำหนดภาพน้ำในถ้วยโฟมแล้ว

- เพื่อให้เห็นชัดเจน ภาพน้ำแจ่มใส ไม่มีฟอง มีคลื่นนิดหน่อย ให้ลองกำหนดแสงให้สว่างขึ้นดู (ถ้าทำได้ลองนะ)

- เพื่อให้เห็นชัดเจน ภาพน้ำแจ่มใส ไม่มีฟอง มีคลื่นนิดหน่อย ให้ลองกำหนดซูมภาพไปใกล้ๆดู (ถ้าทำได้ให้ลองนะ)


:: บันทึก พฤษภาคม 2561
===============
เสริมระหว่างฝึก ในระหว่างวัน
===============


- หากมีเวลาว่างเล็กน้อย เพียงแค่ 2 นาที เอาเวลามาหลับตาฝึกกำหนดภาพกสินน้ำ

- ทำบ่อยๆตามโอกาสที่เอื้ออำนวยในระหว่างวัน (ของผมได้ประมาณ 6 ครั้งต่อวัน ครั้งละประมาณ 2 - 5 นาที)

- การฝึกระหว่างวัน ค่อนข้างเห็นผลความแตกต่างได้ชัดเจน เหมือนเราก้าวกระโดดเลย

- ทำให้ได้เทคนิคเฉพาะตนบางอย่าง และการแก้ปัญหาบางอย่างที่เราติดขัดอยู่ จะสามารถปลดล็อคได้จากการฝึก 2 - 5 นาทีในระหว่างวัน

- และใน 1 วัน ต้องมีเวลาอย่างต่ำครึ่งชั่วโมงที่เอาไว้ฝึกแบบจริงจัง


===============
เสริมระหว่างฝึก เรื่องลมหายใจ
===============


ครูบาอาจารย์ท่านเน้นย้ำและแนะนำเป็นอย่างยิ่งว่า ฐานสำคัญไปสู่เป้าหมายในการสร้างกำลังจิตที่ดีนั้นต้องเริ่มจากการหายใจให้ถูกต้อง ซึ่งโดยธรรมชาติแล้ว เวลาคนเราหายใจเข้าหน้าอกจะแฟบ เวลาหายใจออกหน้าอกจะพอง ซึ่งเป็นการหายใจที่ผิดอยู่

อาจารย์ท่านกล่าวไว้ดังนี้ว่า
ระบบหายใจ
คือ การหายใจเข้าที่ลึกถึงท้องจนท้องพอง
และหายใจออกจนท้องแฟบ
แต่เราจะไม่ตามลมหายใจเพราะจะแป๊กที่ปฐมฌาน
แต่จะใช้การดันลมหายใจแทน
และมาทำความรู้สึกรับรู้ว่า
มีลมเข้าและออกหยุดที่ปลายจมูกเท่านั้น


ตามคำแนะนำของอาจารย์ผมของยืนยันว่าจริงที่ท่านว่า เพราะเวลาเข้าสู่ปฐมฌานหากเราหายใจแบบเดิมๆที่เราเคยทำอยู่ เมื่อจิตสงบลมหายใจละเอียดมากๆ เราสับสนกับการกำหนดลมหายใจ ทำให้กำลังสมาธิลดลง และทำให้เกิดความสงสัยบ้าง อึดอัดบ้าง และเป็นอุปสรรคต่อสมาธิระบบปฐมฌานอีกด้วย

ดังนั้นเรื่องลมหายใจนั้นมีผลต่อระดับของสมาธิมาก เวลาระหว่างวันอย่าลืมฝึกลมหายใจให้ท้อง พอง - ยุบ ตามที่ครูบาอาจารย์ท่านได้กล่าวเอาไว้


===================
เสริมระหว่างฝึก ปัญหาที่พบในการฝึก
===================


เคยมีอยู่ช่วงหนึ่งที่ผมยังหายใจแบบเดิมๆ ทำให้ค่อนข้างมีปัญหาในการกำหนดภาพกสินในระหว่างที่หายใจเข้า - ออก ซึ่งการหายใจแบบเดิมๆที่ไม่ใช่ท้องพองยุบนั้น มันทำให้เราอึดอัดเวลากำหนดภาพกสิน เพราะเรามุ่งแต่จะไปสนใจลมหายใจที่ลากเข้าออกพร้อมกับการกำหนดภาพและบังคับภาพให้อยู่ตำแหน่งลิ้นปี่นั่นเอง

ผลคือจิตจะสับสนและไม่เป็นหนึ่งเดียว หรือมีฐานที่ตั้งของจิตไม่ั่มั่นคงนั่นเอง

ต่อมาก็เลยลองมาฝึกกำหนดลมหายใจท้องพองยุบแบบที่อาจารย์ท่านแนะนำ ซึ่งเราจะไม่ตามสายลมหายใจและไม่สนใจท้องที่พองยุบ ซึ่งปล่อยให้มันเป็นอย่างนั้นไปตามธรรมชาติ แต่เราจะรู้เฉพาะที่ลมหายใจผ่านเข้า ผ่านออกบริเวณปลายจมูกเท่านั้น (สังเกต หายใจเข้าจะเย็นๆที่ปลายจมูก หายใจออกจะอุ่นๆที่ปลายจมูก)

ส่วนตัวแล้วแรกๆ ที่ยังไม่ชินกับอุคหนิมิต
ที่ยังไม่คล่องในการกำหนดภาพกสินน้ำแบบทันทีที่เราต้องการ ผมจะหายใจเข้าแล้วก็เริ่มกำหนด หายใจออกก็ยังคงกำหนดภาพ สลับลมหายใจเข้า-ออกเรื่อยๆ จนภาพนั้นเริ่มชัดเจนและมองดูรู้ว่าเป็นน้ำใส มีคลื่นเล็กน้อย เห็นก้นถ้วยเมื่อเห็นแล้วผมจึงวางภาพและกำหนดภาพน้ำขึ้นมาใหม่  

แต่หลังๆ เริ่มชินกับอุคหนิมิต
ผมถนัดในช่วงระหว่างการหายใจเข้า โดยการกำหนดภาพกสินน้ำให้ปรากฎบริเวณแถวๆลิ้นปี่  และเวลาหายใจออกผมก็ปล่อยวางภาพนั้นให้หายไป ทำสลับไปมาแบบนี้เรื่อยๆ

สิ่งที่พบเจอ
- บางครั้งระหว่างที่หายใจเข้า กำหนดภาพแล้วก็ไม่สว่าง (เป็นเรื่องปกติ)
- บางครั้งระหว่างที่หายใจเข้า กำหนดภาพแล้วก็นึกภาพน้ำไม่ออก (เป็นเรื่องปกติ)
- บางครั้งระหว่างที่หายใจเข้า กำหนดภาพแล้วก็เห็นไม่เต็มรูป (เป็นเรื่องปกติ)
- บางครั้งระหว่างที่หายใจเข้า กำหนดภาพแล้วก็มีภาพอื่นๆแทรก (เป็นเรื่องปกติ)
- บางครั้งระหว่างที่หายใจเข้า กำหนดภาพแล้วก็มีความคิดฟุ้งซ่านแทรก (เป็นเรื่องปกติ)

- บางครั้งที่เราหายใจออก กำหนดวางภาพแล้วภาพมันไม่ยอมหาย (เป็นเรื่องปกติ)
- บางครั้งที่เราหายใจออก กำหนดวางภาพแล้วเกิดฟุ้งซ่าน (เป็นเรื่องปกติ)
- บางครั้งที่เราหายใจออก กำหนดวางภาพแล้วก็มีภาพอื่นๆแทรก  (เป็นเรื่องปกติ)

ให้เราค่อยๆฝึกฝนไปเรื่อยๆ ให้ผ่านอุปสรรคพวกนี้ให้ได้ กำลังจิตเราจะค่อยพัฒนากำลังทีเล็กทีละน้อย ค่อยๆฝึกสะสมกำลังกันไปเรื่อยๆอย่าท้อ


===============
เสริมระหว่างฝึก เกี่ยวกับการกำหนดภาพกสิน
===============


การจับภาพนิมิต หรือภาพกสิณใดๆ ภาพจะชัดหรือไม่ชัด จะสว่างหรือไม่สว่าง

ไม่ได้อยู่ที่อาการเพ่ง หรืออาการของภาพ หมายความว่าอย่าสนใจในภาพ ที่เราจับอยู่

หรือนึกถึงอยู่ว่า เอะ! ไมเป็นแบบนั้น เอะ!ไมเป็นแบบนี้ ไห้สนใจที่กำลังใจ หรือใจของเรา

เป็นสำคัญนะครับ ใจยิ่งนิ่ง ใจยิ่งสงบ ภาพจะชัด จะแจ่มใจขึ้นเป็นลำดับ

อย่าสนใจในภาพ ดูความเปลี่ยนปลงของภาพ อย่างใจที่เป็นปกติ เท่านั้นพอ

แต่ให้จำ ให้สนใจความรู้สึกของใจเท่านั้น สังเกตดูนะครับ พอใจเราเริ่มสงบนิ่ง+ใจเป็นสุข

ภาพก็จะใสขึ้นตามมา ชัดเจนขึ้น เริ่มสว่างขึ้น อันนี้เข้าสู่อุปจรสมาธิแล้วนะ ถ้ากำลังใจ สงบระงับแนบแน่นลงไปได้อีก

ความเป็นประกายของภาพน้ำจะปรากฏขึ้น


:: บันทึก มิถุนายน 2561
============================================
เสริมระหว่างฝึก ปัญหาที่พบในการฝึก ลมหายใจละเอียดแล้วกำหนดภาพกสินน้ำไม่ปรากฎ
============================================


แต่ละคนอาจมีปัญหาและข้อบกพร่องที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งผมเองก็เจอปัญหาบางอย่างที่เกิดขึ้นในตอนที่ฝึกกำหนดภาพกสินน้ำ ปัญหาที่ว่านั่นก็คือ เวลากำหนดภาพกสินน้ำไปเรื่อยๆ จนจิตเริ่มสงบ ลมหายใจเริ่มละเอียดขึ้น ผลปรากฎว่า ผมไม่สามารถกำหนดภาพน้ำได้อีก

ติดปัญหานี้อยู่เกือบๆเดือน พยามแก้ไขด้วยวิธีการลากลมหายใจให้หยาบขึ้น ซึ่งก็ได้ผลตรงที่ว่ากำหนดภาพกสินน้ำได้ปกติ แต่ข้อเสียคือความละเอียดของจิตและกำลังสมาธิลดลง และเมื่อกำหนดภาพกสินต่อเนื่องอีกครั้งก็จะเข้าสู่วงจรเดิมคือ ลมหายใจละเอียด แต่กลับกำหนดภาพกสินไม่ได้

ผมก็มาค้นหาวิธีแก้ไข โดยการลองถูกลองผิดในการฝึกระหว่างวัน (2 - 5 นาที บางที่ก็เกินไปอีกจนถึง 15 นาที เพื่อให้ลมหายใจละเอียด) ซึ่งวิธีแก้คือการบังคับจิตให้สร้างภาพน้ำบริเวณลิ้นปี่ โดยผลักให้ภาพน้ำปรากฎบนอากาศใกล้ๆกับลิ้นปี่และเพิ่มความชัดเจนของคลื่นบนผิวน้ำขนาดเล็กๆ ที่เคลื่อนไหวเป็นระลอกบนผิวน้ำ ทำให้จิตสร้างภาพน้ำใสที่มีจุดสนใจคือคลื่นบนผิวน้ำและมองทะลุเห็นก้นถ้วยได้ดียิ่งขึ้น

ด้วยวิธีเพียงเท่านี้ก็สามารถทำให้ผมผ่านอุปสรรคในการกำหนดภาพน้ำในขณะที่ลมหายใจละเอียดได้แล้ว ซึ่งผลการทดลองพบว่า แม้ลมหายใจจะละเอียดขึ้นเรื่อยๆจนแผ่วเบามากๆ ก็ยังสามารถกำหนดภาพกสินได้ทันทีที่ต้องการ + ภาพที่เห็นเริ่มชัดและสว่างใสขึ้นด้วยนะ

ภาพกสินน้ำในขั้นตอนนี้ก็ยังคงกำหนดภาพและทิ้งภาพ ซ้ำไปซ้ำมาเหมือนเดิม ต่างกันนิดหน่อยตรงที่ความถี่ในการกำหนดเห็นและทิ้งภาพมันรวดเร็วและต่อเนื่องยิ่งขึ้น ซึ่งมันก็เป็นไปเองตามธรรมชาติไม่มีการบังคับใดๆ


บันทึกวันที่ : 17/11/2562
============================================
ผมได้นำเครื่องมาวัดผลคลื่นสมองมาทดสอบการนั่งสมาธิครับ
============================================








คลิกอ่าน -- ทดสอบวัดคลื่นสมอง เมื่อเข้าสมาธิ



---------------------------

แค่นี่ก่อน ไว้คืบหน้าอย่างไรแล้วจะมาเล่าต่อนะ




 

  เมื่อวันที่ : 2020-01-18 15:43:09


สอบถาม โทร : 087-613-1076 คุณพิษณุ
Line ID : 0876131076


สั่งซื้อ คลิกที่นี่
กรอกข้อมูลทิ้งไว้ เดี๋ยวเราติดต่อกลับไปทาง LINE หรือ E-mail



Muse เครื่องมือช่วยทำสมาธิ และสามารถวัดผ
การนั่งสมาธิได้รับความนิยมอย่างมาก เพราะสามารถช่วยให้จิตมีความสงบ ร่ายกายผ่อนคลาย ทำให้มีสมาธิในการทำงานได้ดียิ่งขึ้น ตัดสินใจเรื่องต่างๆได้เฉียบขาดแล

จะรู้ได้อย่างไรว่านั่งสมาธิแล้วจิตสงบ -
จะรู้ได้อย่างไรว่านั่งสมาธิแล้วจิตสงบ ? , คุณเคยมีความรู้สึุกแบบนี้ไหมว่าเราฝึกสมาธิมาสักระยะนึงแล้ว เราสามารถเข้าถึงสภาวะทำต่างๆ , อาการต่างๆในสมาธิบ

ประสบการณ์กสิณน้ำ เหนี่ยวนำจิต ให้สงบรวด
ผมได้พยามฝึกกสิณน้ำมาอย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 1 ปี ซึ่งการฝึกนั้นก็สามารถสั่งจิตให้กำหนดภาพน้ำใสได้บ้างไม่ได้บ้างแต่ก็ดูเหมือนจะมีการพัฒนาที่ดีขึ้นอย่าง

เครื่องวัดสมาธิ Muse สามารถบอกเราได้ว่า
เครื่องวัดสมาธิ Muse เป็นเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อช่วยในการฝึกทำสมาธิโดยตรง ซึ่งสามารถใช้ในการวัดผลลัพธ์ของการทำสมาธิได้จากการอ่

รีวิว muse เครื่องทำสมาธิ จากประสบการณ์ข
สวัสดีครับวันนี้ผมจะมา รีวิว Muse เครื่องทำสมาธิที่สามารถช่วยให้เราฝึกสมาธิได้ง่ายขึ้น มีการวัดผลให้คะแนนและการแสดงผลออกมาในรูปแบบของกราฟที่ดูแล้วเข้า

ฝึกกสินน้ำ ตามแนวทางของผม อัพเดตเรื่อยๆต
กองของกสินที่ผมเลือกคือกสินน้ำ เพราะมีอาจารย์ท่านหนึ่งให้ความรู้และสอนวิธีเอาไว้ค่อนข้างละเอียด ผมก็เลยลองมาฝึกดู และความยากของกสินน้ำคือมันใสนี่แหละ

อาการ ฌาน2 + ประสบการณ์การเข้าฌาน และวิธ
ฌาน2 และอารมณ์แบบชี้ชัดๆกัน เมื่อทิ้งคำภาวนาแล้ว ขณะที่หายใจเข้าให้รู้ลมหายใจเข้าให้ชัดเจนที่สุดเท่าสมาธิเราจะมีได้ แล้วรู้ไปด้วยว่านั่น วิญญานเกิดแล

ประสบการณ์ ฝึกสมาธิ ใช้กำลังจิตควบคุมคลื
การฝึกสมาธินั้นทำได้หลากหลายวิธีและมีเป้าหมายของการฝึกที่หลากหลายเพราะกำลังสมาธิที่เข้มแข็งสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้มากมาย แม้ปลายทางจะนำกำลังสมาธิ

คลิกเพื่อดูทั้งหมด ->


ชื่อของคุณ


แสดงความคิดเห็น



กรุณารอสักครู่...